Rhinoceros เป็นโปรแกรมออกแบบที่มีความแม่นยำสูงและสามารถสร้างรูปทรง freeformได้อย่างอิสระ จนเป็นนิยมใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ในเชิงอุตสาหกรรม และเครื่องประดับซึ่งในคอร์สจะสอนเนื้อหาตั้งแต่การเริ่มใช้งานเพื่อขึ้นรูปโมเดลที่แม่นยำ ไปจนถึงการใส่วัสดุแมททีเรียล และการจัดแสงเพื่อrenderออกมาให้ได้ภาพที่สวยงาม สำหรับเนื้อหาในคอร์ส Rhino ceros ในคอร์สนี้จะสอนครอบคลุมตั้งแต่basic ของพื้นฐานคำสั่ง ไปจนถึงการปั้นโมเดล ทั้งทางสถาปัตยกรรมและ ผลิตภัณฑ์ และการใช้ vray ช่วย render สำหรับงานออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ภาพงานในการนำเสนอ
เรียน ออนไลน์สด ผ่านzoom ครั้งละ3ชั่วโมง6ครั้ง ค่าอบรม 9000 บาท
-สมัครเรียนตั้งแต่3ท่านขึ้นไปลด20%
สนใจเรียน คลิ๊กสมัคร
ครั้งที่ |
เนื้อหาการเรียน |
1 | คำสั่งพื้นฐานการทำงาน rhinoceros |
2 | เรียนรู้ขึ้นโมเดล3มิติแบบธรรมดา ด้วยเส้น2มิติ |
3 | ขึ้นโมเดล3มิติ ฟรีฟอร์ม องค์ประกอบอาคารฟรีฟอร์ม |
4 | เรียนรู้เรื่อง solid & surface |
5 | ขึ้นงานฟรีฟอร์มรูปแบบต่างๆ และการทำร่วมกับโปรแกรมอื่น 3dmax ai /laser cut/cnc/3d print |
6 | การเรนเดอร์ด้วย keyshort |
Grasshopper
หลักสูตร Grasshopper เป็น plug inเสริมของ rhinoceros เพื่อทำให้รูปทรงนั้นมีความหลากหลายมากขึ้น และถูกนำมาใช้ในการออกแบบโดยเน้นรูปฟอร์ม เช่น parametric design เป็นต้น โดยใช้ชุดปุ่มคำสั่งแบบ mind map สวิตซ์ เข้ามา คอนโทรลตัวโมเดล ให้มีรูปร่างที่แตกต่างออกไปตามชุดคำสั่งที่เลือกเข้ามาใช้ โดยในคอร์สนี้จะปูพื้นฐานการทำงานของ grasshopper โดยสามารถเลือกได้ว่าจะเรียน ทั้งrhinoceross + grasshopper แบบbasic รวม6ครั้ง 24ชั่วโมง หรือจะเน้นไปทางgrasshopper อย่างเดียวสำหรับผู้ที่ใช้rhinocerossเป็นอยู่แล้ว 6ครั้ง24ชั่วโมง
ตัวอย่างการใช้งาน Grasshopper ในการออกแบบเฝือก
เนื้อหาการเรียน เรียนครั้งละ3ชั่วโมง6ครั้ง รวม18ชั่วโมง 9000บาท
Course Syllabus_ Rhinoceros Grasshopper (Ver.7)
ครั้งที่ 1
– อธิบายหน้าที่และคำสั่งการใช้งาน Interface ของโปรแกรม ในการสร้างงาน
– การ Save และ Open ไฟล์ Grasshoppe
– อธิบายหน้าที่ชุดคำสั่ง Component ใน Grasshopper เพื่อสร้างชิ้นงาน
– การใช้งาน Input/Output Component (Instruction) ในการควบคุมวัตถุและแสดงผลใน Rhinoceros
– แบบฝึกหัด Grasshopper การสร้างชิ้นงานพื้นฐาน
– สรุปเนื้อหา
ครั้งที่ 2
– อธิบายการเชื่อมต่อข้อมูล Component และ การยกเลิกการเชื่อมต่อ Component
– การสร้างจุดและแสดงผลใน Rhinoceros ด้วย Series และควบคุมชิ้นงาน โดย Number Slider, Panel
– อธิบายการ Bake ชิ้นงานของ Component และนำชิ้นงาน ไปทำงานใน Rhinoceros
– การแสดงผลชิ้นงานด้วย Curve, Line, Pipe, Sphere และ Interpulate
– แบบฝึกหัด Grasshopper การสร้างชิ้นงาน Component Surface
– สรุปเนื้อหา
ครั้งที่ 3
– อธิบายการใช้ Contour และ Input ข้อมูลบนผิว Surface
– อธิบายหน้าที่ชุดคำสั่ง Data Trees ในการทำงานของ Grasshopper
– การจัดกลุ่ม Component และการเปลี่ยนสีเพื่อควบคุมการวางตำแหน่งของชิ้นงาน
– อธิบายการสร้างเส้นจากจุดและสร้างระนาบจากเส้นนำไปแสดงผลใน Rhinoceros
– การใช้เครื่องมือ Move เพื่อ copy
– แบบฝึกหัด Grasshopper Array Divide
– สรุปเนื้อหา
ครั้งที่ 4
– อธิบายการใช้จุดควบคุมเส้น และควบคุมระนาบโดย Number Slider
– การใช้ Area เพื่อกำหนดจุดกึ่งกลางของชิ้นงาน Component Surface
– การการประยุกต์ใช้ Area ร่วมกับ Grid (Pop2D, Pop3D)
– การควบคุม Component โดย enable-disable preview
– แบบฝึกหัด Grasshopper 1. Array Curve along a surface 2. Voronoi wall facade on any surface
ครั้งที่ 5- สรุปเนื้อหา
– อธิบายการใช้งาน Deconstruct Brep และการหาจุดใน Brep
– อธิบายการทำงาน Attract ด้วย point และ Curve
– การควบคุมเส้นและการ Offset Curve รวมถึงการ Join Curve บนชิ้นงาน Surface
– อธิบายการทำงานและสร้าง Curve บนผิววัตถุ (map to surface)
– แบบฝึกหัด Grasshopper : map to surface (Delaunay Edges, Voronoi)
– สรุปเนื้อหา
ครั้งที่ 6
– อธิบายการทำงาน Package Manager เพื่อ instal plugin สำหรับ Grasshopper Rhinoceros
– อธิบายการนำ ภาพมสร้างงานในโปรแกรมโดย Grasshopper’s Image
– อธิบายการทำงาน Data Filtering และควบคุมชิ้นงานโดย Cull Pattern
– การใช้เครื่องมือ Orient เพื่อนำผลงานไปทำงานชิ้นงานต้นแบบ (Print 3D, Drawing)
– แบบฝึกหัด Grasshopper Voronoi wall facade on any surface (2D & 3D)
-สรุปเนื้อหาทั้งหมด
อาจารย์ผู้สอน อ.ประชม ทางทอง (อ.บิ๊ก)
อาจารย์ประจำสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
อาจารย์ พิเศษ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตัวอย่างผลงานนักเรียน